เช้าวันศุกร์ที่สิบสามของโรงเรียนแห่งหนึ่ง อาจจะไม่ใช่เช้าที่เงียบสงัดปกติเหมือนทุกๆวัน
เสียงเจี๊ยวจ๊าวดังมาจากห้องประชุมใหญ่ ภายในบรรจุนักเรียนมากมายที่เตรียมพร้อมมาฟังการโต้วาทีของนักเรียน ม.4 สายวิทย์ และ สายศิลป์ ในหัวข้อเรื่อง "การอาศัยอยู่บนโลกรูปทรงเรขาคณิต"
นักเรียนสายวิทย์เริ่มเปิดประเด็นไปที่สิ่งของที่อยููรอบตัว ตึก คอนโด รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ กระดาษ เก้่าอี้ โต๊ะ รวมทั้งห้องประชุม โลกของเราล้วนแต่ถูกสร้างมาให้มีรูปทรงเลขาคณิตทั้งสิ้น
การมีรูปทรงให้เราสามารถสร้างปะติมากรรมขนาดใหญ่ให้ตั้งอยู่เป็นพันๆปีได้โดยไม่โค่นล้ม
นักเรียนสายศิลป์ยืนขึ้นเริ่มกล่าวประเด็นถึงต้นไม้ ลำธาร ภูเขา สายลม แสงแดด ก้อนหิน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปทรงทั้งสิ้น
ต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถโค้งเอียงได้โดยไม่ล้ม ลำธารสามารถเลี้ยวงอคดเคี้ยวเพื่อสร้างกระแสน้ำ ภูเขายังคงตั้งตระหง่านอยู่บนโลกใบนี้ได้นานเสียกว่าอาคารหลังใหญ่ที่เรายืนนี้เสียอีก
นักเรียนทั้งสองยังคงโต้วาทีอย่างสร้างสรรค์กันไม่เป็นที่สิ้นสุด ในขณะที่เวลาเริ่มล่วงเลยมาถึงเวลาพักเที่ยงที่กรรมการจะต้องมาชี้ชัดตัดสินผล
"การอาศัยอยู่บนโลกของรูปทรงเรขาคณิต" หัวข้อโต้วาทีของเด็กโรงเรียนนี้อาจจะคล้ายคำถามแนวปรัชญาของนักวิชาการรุ่นใหญ่ แต่ก็ชวนให้เราเริ่มสังเกตุสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมากขึ้น
พี่จิก ประภาส เคยให้คำตอบในคอลัมน์มติชนที่คล้ายคลึงกับกับคำถามข้างต้นว่า
... ธรรมชาติมักสร้างสิ่งที่ไม่มีรูปทรง ในขณะที่มนุษย์มักสร้างสิ่งที่มีรูปทรงจากความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ...
ถ้าลองสังเกตกันจริงๆ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปทรงอย่างที่นักเรียนสายศิลป์กล่าว และสิ่งต่างๆรอบตัวเราที่เกิดขึ้นจากฝืมือมนุษย์ก็เป็นรูปทรงเรขาคณิตทั้งนั้น
หากวันนี้ผมเดินอยู่ในป่าเขาลำเนาไพร ผมคงสรุปได้ว่า ผมกำลังอาศัยอยู่บนโลกที่ไม่มีรูปทรงเรขาคณิต แต่กลับกันถ้าพรุ่งนี้ผมเดินไปที่สยามพารากอนผมคงต้องขอเปลี่ยนคำตอบนั้นอย่างเร็วไว
การตัดสินผู้แพ้ชนะสำหรับการโต้วาทีในวันนี้คงจะง่ายมาก ถ้ากรรมการคนนั้นอาศัยอยู่คอนโดย่านสยามพารากอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น