0..1..2..3..4..5..6..7..8..9.....
สหายทั้งสิบปะปนและวนเวียนอยู่ในชีวิตของเราตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งยามหลับก็ยังฝันออกมาเป็นตัวเลขได้ ยิ่งใกล้วันที่ สิบหก หรือ วันที่ หนึ่ง สหายทั้งสิบมักจะถูกตีความเป็นเลขเด็ดที่เราสามารถพบเห็นอยู่ได้เสมอๆ บนหน้าหนังสือพิมพ์
การออกเดินทางค้นหาสรรพสิ่งรอบตัว เริ่มขึ้นในเช้าอันน่าอัศจรรย์วันหนึ่ง เมื่อผมลองหยุดมองและสังเกตุการเคลื่อนไหวของสหายทั้งสิบที่ไม่เคยหลับไหล และได้อยู่รอบตัวเราเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด ตั้งแต่ตื่นนอนเวลา X.XX ออกไปรอรถสาย XX ควักเงินเป็นจำนวน XX ยื่นให้กับกระเป๋ารถ กระเป๋าทอนมาเป็นเงิน XX เก็บใส่กระเป๋า ซักพักมองดูนาฬิกา XX เหลือเวลาอีก XX นาที จะทันไหม หิวจัง ลงรถเดินเข้าร้าน X.XX (ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง) เดินไปกดน้ำี่มีแก้วหลายๆราคา XX วางอยู่ติดกัน จ่ายสตางค์พร้อมรับเงินทอน ........
ทำไมตัวเลขถึงได้มีอิทธิพลมากกับมนุษย์ หรืออาจจะถึกถักว่าตัวเลขได้ซึมซาบอยู่ในสมองของเราตั้งแต่เกิด ตั้งแต่เราเริ่มเรียนวิชานับเลขโดยใช้นิ้วมือเล็กๆตอนอนุบาล การเรียนคณิตศาสตร์สมัยประถม การรักษาตัวเลข 4 "เกรด" นิยมในสมัยศึกษาอยู่ระดับมหาวิทยาลัย แทบจะไม่มีอะไรไม่เกี่ยวพันกับตัวเลข แม้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้จะมีแค่สิบตัว...เท่านั้นเอง...ก็ตาม แต่ตัวเลขเพียงสิบตัวนี้สามารถเป็นผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่งของโลก และสามารถใช้สื่อสารกันอย่างง่ายดายกับคนทุกเชื้อชาติทุกภาษา ทุกคนทั้งโลกยอมรับและภักดีต่อสหายทั้งสิบมาช้านาน
ประวัติของตัวเลขเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จัก การเทียบสิ่งของด้วยวิธีหนึ่งต่อหนึ่ง การเทียบสัตว์ 1 ตัว เท่ากับ นิ้วมือ 1 นิ้ว นิ้วก้อยแทนหนึ่ง นิ้วนางแทนสอง นิ้วกลางแทนสาม ศอกแทนแปด ไหล่แทนเก้า ไหปลาร้าแทนสิบ จนกระทั่งเลขศูนย์ถือกำเนิดในประเทศอินเดีย และเกิดจากพัฒนาไปเป็นเลข 1,2,3,4,5,... จากต้นกำเนิดในอินเดีย แพร่เข้ามาในยุโรปโดยผ่านชาวอาหรับ จึงถูกเปลี่ยนชื่อที่เรียกว่า "ตัวเลขฮินดูอา-รบิก"
สหายทั้งสิบมีชื่อที่ถูกเรียกแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ หรือวิธีใช้งาน
ตัวเลขที่สามารถใช้ตัดสินการแพ้ชนะในการแข่งขัน และวัดค่าความสามารถของมนุษย์เรียกว่า "คะแนน"
ตัวเลขที่สามารถบ่งบอกความถูก แพงของสินค้า เรียกว่า "ราคา"
ตัวเลขที่ใช้เป็นรหัสในการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกว่า "เบอร์โทร"
ตัวเลขที่สามารถนำไปเป็นรางวัลของการหมุนวงล้อได้ เรียกว่า "สลากกินแบ่งรัฐบาล"
ตัวเลขความมั่งคั่งของแต่ละคนอยู่ในบัญชีธนาคาร เรียกว่า "เงิน"
ตัวเลขที่สามารถบอกความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ เรียกว่า GDP
ตัวเลขที่สามารถคำนวณความสุขมวลรวมของมนุษย์ เรียกว่า GNH
ความสุข ความร้อน ความหนาว ความดัง ความหวาน ความรวย ความจน อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก แม้กระทั่งคุณสมบัติหรือคุณภาพที่รู้จักกันตั้งแต่เด็กว่าสิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรม จับต้องมิได้ เหล่ามนุษย์ผู้เก่งฉกาจก็สามารถสร้างเครื่องมือ หรือดัชนีชี้วัดออกมาเพื่อวัดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าปรีติยินดี
หากชาวดาวไซย่าอย่างเบจิต้า มีอยู่บนโลกแห่งความจริง เราคงได้เห็นเครื่องสเคาน์เตอร์ที่สามารถวัดความสุขของมวลมนุษย์โลกได้ ในท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจระดับโลก ปัญหาข้าวยากหมากแพง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาสังคมเลื่อมล้ำ แล้วคุณคิดว่าประชากรโลกเรากำลังมีความสุขอยู่ในระดับใด
สหายทั้งสิบมีความสำคัญที่ลดหลั่นกันไปตามข้อกำหนดของมนุษย์ จะผิดไหมถ้ามีนักวิ่งแข่งอยู่ 3 คน คนที่วิ่งเข้าเส้นชัยคนแรกถูกเปลี่ยนไปเรียกว่าอันดับที่ 3 ,รองมาอันดับที่ 2 , ที่โหล่เรียกว่าอันดับ 1 ภาพการรับรางวัลบนแท่นรับเหรียญคงจะแปลกตาผู้คนในสนามแข่งน่าดู เพราะความเข้าใจในลำดับของตัวเลขที่กำหนดไว้ตั้งแต่ยุดก่อนๆ ถูกถ่ายทอดและผนวกรวมจากรุ่นต่อรุ่น เป็นตัวกำหนดว่าผู้ชนะต้องถูกเรียกว่าอันดับ 1 เท่านั้น
จึงทำให้ความอยากกระหายความสำเร็จของมนุษย์จะถึงเป้าหมายได้เมื่อขึ้นไปเป็นที่ 1 ......... จริงหรือ ?
ในทางกลับกันการแสวงหา และการกอบโกยมักจะเหมาะสมกับตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดในหลักหน่วยอย่างเลข 9 ถ้าตอนนี้คุณมีเงินในกระเป๋าเป็นจำนวน X00,000 บาท เลข 1 กับ 9 คุณจะเลือกเบอร์อะไร ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งแสดงความมั่งคั่งมั่นคง แต่เมื่อได้รับเลข 9 แล้ว มนุษย์เราก็มักจะก้าวและก้าวต่อไป ก้าวไปเรื่อยๆจนไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดของตัวเลขที่หามาได้ควรหยุด หรือ "พอ" อยู่ที่ใด
ทำไงได้ในเมื่อมนุษย์อยู่ในสังคมใหญ่ที่ยังต้องกินต้องใช้ ต้องหามาจ่ายไปด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา ผู้ชนะคือผู้ที่มีมากกว่า .........จริงหรือ ?
ชีวิตของมนุษย์ถูกผูกติดกับตัวเลขอย่างสิ้นเชิง ก็เพื่อที่จะทำให้เรารู้พิกัด ตำแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเอง บ้านเมืองจะอยู่อย่างสงบได้ก็ต้องมีเครื่องมือซักชิ้นเข้ามาช่วยชี้วัด ตัวเลขจึงมีบทบาทที่สำคัญที่ทำให้การวัดค่าต่างๆ ถูกทำให้ง่ายขึ้น เชื่อถือได้มากขึ้น เป็นสากลมากขึ้น เราคงไม่สามารถบอกความเจริญเติบโตของประเทศเรากับต่างประเทศได้รู้ ถ้าไม่มีดัชนีการบริโภคไปโชว์ให้คนทั้งโลกเห็น รัฐคงไม่สามารถจัดการดูแลปากท้องคนทั้งประเทศ หรือดูแลความสงบสุขของบ้านเมืองได้ถ้าไม่ตัวเลขที่แสดงลำดับทะเบียนประชากรบนบัตรประชาชน แต่บางครั้งตัวเลขก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นความจริงในอีกแง่มุมหนึ่ง เช่น นักเรียนเรียนดีเกรด 4 ทุกเทอม อาจจะไม่เคยมีความสุขในสังคมแห่งความเป็นจริง คนที่มีเงินเดือนหกหลักต่อเดือนอาจจะไม่เคยได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตัวเองเลยในหนึ่งสัปดาห์
0..1..2..3..4..5..6..7..8..9.. จึงเป็นสหายที่จงรักภักดีต่อเราเสมอ หากเรารู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ในสถานะที่เป็นอยู่ ณ เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่กับตัวเลขนั้นๆ กล่าวคือ ในเวลาหนึ่งเราอาจจะได้รับบทบาทให้เป็นตัวเลขใดตัวเลขหนึ่ง แต่ขอให้เรารับรู้ถึงการมีอยู่ในเลขตัวนั้น และไม่ยึดติดกับเลขใดเพียงเลขหนึ่ง เพราะในที่สุดเราจะได้คำตอบของสัญลักษณ์ทั้งสิบว่า ไม่มีตัวเลขใดๆที่จะอยู่ค้ำโลกไปตลอดกาล ทุกตัวเลขกำลังหมุนวนจาก 0..1..2..3..4..5..6..7..8..9..0..1..2..3..4..5..6..7..8..9... ลองจินตนาการถึงการเกิดดับของเลขทั้งสิบ แล้วลองมองย้อนกลับไปหาสิ่งที่เรียกว่า "ทุกข์" หากทุกข์เปรียบเสมือนสถานะของตัวเลขตัวใดตัวหนึ่ง มันคงกำลังวิ่งหมุนวนไปต่อยังอีกตัวเลขหนึ่งอยู่ และเมื่อใดที่ผ่านพ้นเลขนั้นไปได้ เราจะได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชีวิตมากขึ้น ในเมื่อเรารู้แล้วว่าทุกข์สามารถผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านออกไป ครั้งต่อไปเราคงจะใช้ประสบการณ์ครั้งก่อนปรับทุกข์ของเราให้ดับไปได้เร็วกว่าเดิม
สหายทั้งสิบปะปนและวนเวียนอยู่ในชีวิตของเราตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งยามหลับก็ยังฝันออกมาเป็นตัวเลขได้ ยิ่งใกล้วันที่ สิบหก หรือ วันที่ หนึ่ง สหายทั้งสิบมักจะถูกตีความเป็นเลขเด็ดที่เราสามารถพบเห็นอยู่ได้เสมอๆ บนหน้าหนังสือพิมพ์
การออกเดินทางค้นหาสรรพสิ่งรอบตัว เริ่มขึ้นในเช้าอันน่าอัศจรรย์วันหนึ่ง เมื่อผมลองหยุดมองและสังเกตุการเคลื่อนไหวของสหายทั้งสิบที่ไม่เคยหลับไหล และได้อยู่รอบตัวเราเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด ตั้งแต่ตื่นนอนเวลา X.XX ออกไปรอรถสาย XX ควักเงินเป็นจำนวน XX ยื่นให้กับกระเป๋ารถ กระเป๋าทอนมาเป็นเงิน XX เก็บใส่กระเป๋า ซักพักมองดูนาฬิกา XX เหลือเวลาอีก XX นาที จะทันไหม หิวจัง ลงรถเดินเข้าร้าน X.XX (ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง) เดินไปกดน้ำี่มีแก้วหลายๆราคา XX วางอยู่ติดกัน จ่ายสตางค์พร้อมรับเงินทอน ........
ทำไมตัวเลขถึงได้มีอิทธิพลมากกับมนุษย์ หรืออาจจะถึกถักว่าตัวเลขได้ซึมซาบอยู่ในสมองของเราตั้งแต่เกิด ตั้งแต่เราเริ่มเรียนวิชานับเลขโดยใช้นิ้วมือเล็กๆตอนอนุบาล การเรียนคณิตศาสตร์สมัยประถม การรักษาตัวเลข 4 "เกรด" นิยมในสมัยศึกษาอยู่ระดับมหาวิทยาลัย แทบจะไม่มีอะไรไม่เกี่ยวพันกับตัวเลข แม้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้จะมีแค่สิบตัว...เท่านั้นเอง...ก็ตาม แต่ตัวเลขเพียงสิบตัวนี้สามารถเป็นผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่งของโลก และสามารถใช้สื่อสารกันอย่างง่ายดายกับคนทุกเชื้อชาติทุกภาษา ทุกคนทั้งโลกยอมรับและภักดีต่อสหายทั้งสิบมาช้านาน
ประวัติของตัวเลขเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จัก การเทียบสิ่งของด้วยวิธีหนึ่งต่อหนึ่ง การเทียบสัตว์ 1 ตัว เท่ากับ นิ้วมือ 1 นิ้ว นิ้วก้อยแทนหนึ่ง นิ้วนางแทนสอง นิ้วกลางแทนสาม ศอกแทนแปด ไหล่แทนเก้า ไหปลาร้าแทนสิบ จนกระทั่งเลขศูนย์ถือกำเนิดในประเทศอินเดีย และเกิดจากพัฒนาไปเป็นเลข 1,2,3,4,5,... จากต้นกำเนิดในอินเดีย แพร่เข้ามาในยุโรปโดยผ่านชาวอาหรับ จึงถูกเปลี่ยนชื่อที่เรียกว่า "ตัวเลขฮินดูอา-รบิก"
สหายทั้งสิบมีชื่อที่ถูกเรียกแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ หรือวิธีใช้งาน
ตัวเลขที่สามารถใช้ตัดสินการแพ้ชนะในการแข่งขัน และวัดค่าความสามารถของมนุษย์เรียกว่า "คะแนน"
ตัวเลขที่สามารถบ่งบอกความถูก แพงของสินค้า เรียกว่า "ราคา"
ตัวเลขที่ใช้เป็นรหัสในการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกว่า "เบอร์โทร"
ตัวเลขที่สามารถนำไปเป็นรางวัลของการหมุนวงล้อได้ เรียกว่า "สลากกินแบ่งรัฐบาล"
ตัวเลขความมั่งคั่งของแต่ละคนอยู่ในบัญชีธนาคาร เรียกว่า "เงิน"
ตัวเลขที่สามารถบอกความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ เรียกว่า GDP
ตัวเลขที่สามารถคำนวณความสุขมวลรวมของมนุษย์ เรียกว่า GNH
ความสุข ความร้อน ความหนาว ความดัง ความหวาน ความรวย ความจน อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก แม้กระทั่งคุณสมบัติหรือคุณภาพที่รู้จักกันตั้งแต่เด็กว่าสิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรม จับต้องมิได้ เหล่ามนุษย์ผู้เก่งฉกาจก็สามารถสร้างเครื่องมือ หรือดัชนีชี้วัดออกมาเพื่อวัดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าปรีติยินดี
หากชาวดาวไซย่าอย่างเบจิต้า มีอยู่บนโลกแห่งความจริง เราคงได้เห็นเครื่องสเคาน์เตอร์ที่สามารถวัดความสุขของมวลมนุษย์โลกได้ ในท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจระดับโลก ปัญหาข้าวยากหมากแพง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาสังคมเลื่อมล้ำ แล้วคุณคิดว่าประชากรโลกเรากำลังมีความสุขอยู่ในระดับใด
จึงทำให้ความอยากกระหายความสำเร็จของมนุษย์จะถึงเป้าหมายได้เมื่อขึ้นไปเป็นที่ 1 ......... จริงหรือ ?
ในทางกลับกันการแสวงหา และการกอบโกยมักจะเหมาะสมกับตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดในหลักหน่วยอย่างเลข 9 ถ้าตอนนี้คุณมีเงินในกระเป๋าเป็นจำนวน X00,000 บาท เลข 1 กับ 9 คุณจะเลือกเบอร์อะไร ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งแสดงความมั่งคั่งมั่นคง แต่เมื่อได้รับเลข 9 แล้ว มนุษย์เราก็มักจะก้าวและก้าวต่อไป ก้าวไปเรื่อยๆจนไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดของตัวเลขที่หามาได้ควรหยุด หรือ "พอ" อยู่ที่ใด
ทำไงได้ในเมื่อมนุษย์อยู่ในสังคมใหญ่ที่ยังต้องกินต้องใช้ ต้องหามาจ่ายไปด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา ผู้ชนะคือผู้ที่มีมากกว่า .........จริงหรือ ?
ชีวิตของมนุษย์ถูกผูกติดกับตัวเลขอย่างสิ้นเชิง ก็เพื่อที่จะทำให้เรารู้พิกัด ตำแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเอง บ้านเมืองจะอยู่อย่างสงบได้ก็ต้องมีเครื่องมือซักชิ้นเข้ามาช่วยชี้วัด ตัวเลขจึงมีบทบาทที่สำคัญที่ทำให้การวัดค่าต่างๆ ถูกทำให้ง่ายขึ้น เชื่อถือได้มากขึ้น เป็นสากลมากขึ้น เราคงไม่สามารถบอกความเจริญเติบโตของประเทศเรากับต่างประเทศได้รู้ ถ้าไม่มีดัชนีการบริโภคไปโชว์ให้คนทั้งโลกเห็น รัฐคงไม่สามารถจัดการดูแลปากท้องคนทั้งประเทศ หรือดูแลความสงบสุขของบ้านเมืองได้ถ้าไม่ตัวเลขที่แสดงลำดับทะเบียนประชากรบนบัตรประชาชน แต่บางครั้งตัวเลขก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นความจริงในอีกแง่มุมหนึ่ง เช่น นักเรียนเรียนดีเกรด 4 ทุกเทอม อาจจะไม่เคยมีความสุขในสังคมแห่งความเป็นจริง คนที่มีเงินเดือนหกหลักต่อเดือนอาจจะไม่เคยได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตัวเองเลยในหนึ่งสัปดาห์
0..1..2..3..4..5..6..7..8..9.. จึงเป็นสหายที่จงรักภักดีต่อเราเสมอ หากเรารู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ในสถานะที่เป็นอยู่ ณ เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่กับตัวเลขนั้นๆ กล่าวคือ ในเวลาหนึ่งเราอาจจะได้รับบทบาทให้เป็นตัวเลขใดตัวเลขหนึ่ง แต่ขอให้เรารับรู้ถึงการมีอยู่ในเลขตัวนั้น และไม่ยึดติดกับเลขใดเพียงเลขหนึ่ง เพราะในที่สุดเราจะได้คำตอบของสัญลักษณ์ทั้งสิบว่า ไม่มีตัวเลขใดๆที่จะอยู่ค้ำโลกไปตลอดกาล ทุกตัวเลขกำลังหมุนวนจาก 0..1..2..3..4..5..6..7..8..9..0..1..2..3..4..5..6..7..8..9... ลองจินตนาการถึงการเกิดดับของเลขทั้งสิบ แล้วลองมองย้อนกลับไปหาสิ่งที่เรียกว่า "ทุกข์" หากทุกข์เปรียบเสมือนสถานะของตัวเลขตัวใดตัวหนึ่ง มันคงกำลังวิ่งหมุนวนไปต่อยังอีกตัวเลขหนึ่งอยู่ และเมื่อใดที่ผ่านพ้นเลขนั้นไปได้ เราจะได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชีวิตมากขึ้น ในเมื่อเรารู้แล้วว่าทุกข์สามารถผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านออกไป ครั้งต่อไปเราคงจะใช้ประสบการณ์ครั้งก่อนปรับทุกข์ของเราให้ดับไปได้เร็วกว่าเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น