วันนี้คงจะเป็นวันที่น้องๆหลายคนกำลังลุ้นผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ตนเองไปสอบวัดผลกันเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน หลายครอบครัวอาจจะกำลังนั่งเฝ้ารอหน้าจอคอมพิวเตอร์กันตั้งแต่เช้าอย่างใจจดใจจ่อ ผลประกาศวันนี้อาจจะเป็นบันไดก้าวแรกของน้องๆทุกคนที่จะก้าวไปสู่หนทางที่ใฝ่ฝัน รวมทั้งเป็นกำลังหลักของประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมประเทศไทยให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ผมกลับมาลองนึกถึงภาพเก่าๆ สมัยผมยังเรียกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบนี้ว่าเอนทรานซ์อยู่ สมัยนี้เปลี่ยนไปเรียกว่าแอดมิชชั่นซะแล้ว พ่อแม่ยุคใหม่นี้อาจจะต้องศึกษาระบบการศึกษาให้ใหม่สดอยู่เสมอ
สมัยนั้นผมยังจำได้ถึงวันประกาศผลเอนทรานซ์ที่เวบไซด์ประกาศผลมักจะล่มอยู่เป็นประจำ บางคนกระโดดโลดเต้นดีใจที่สอบติดคณะที่ใช่สาขาที่โดน ป่าวประกาศให้คนทั้งโลกได้รู้ถึงความสำเร็จ แม้ในขณะนั้นยังไม่มีระบบเครือข่ายอย่าง Facebook ถ้าก็ดีที่มี Hi 5 ที่เป็นตัวชูโรงให้โอ้อวดถึงความสำเร็จนี้กัน ความสำเร็จแรกของชีวิตนักเรียนมันช่างเหมือนประกายไฟส่องทางไปสู่เป้าหมายในวันข้างหน้า สมัยผมผมก็เชื่ออย่างนั้น กว่าที่เราจะฝ่าฟันการติวเข้มจากวีดีโอที่มีครูผู้สอนเป็นทีวี แต่ละวันนั่งหมกตัวอยู่ในห้องเล็กๆติดแอร์ พร้อมกับขนมขบเขี้ยวที่พกติดตัว อย่าง ลูกอมเมนทอส จอลลี่แบร์ จอลลี่โคล่า เป็นตัวช่วยประทังความง่วงได้ดีทีเดียว แต่วันนี้พอผมลองมองย้อนกลับไป การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในครั้งนั้น มันแค่เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ชีวิตให้อยู่รอดในสังคมเท่านั้นเอง เพราะความไม่รู้ว่า คณะที่เราเลือกมันจะใช่กับสิ่งที่เราชอบไหม เพื่อนฝูงจะคบหาสมาคมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งรึปล่าว หรือแม้กระทั่งหากเราจบไปแล้วคณะที่เราเรียนจะมีคนตกงานอีกกันซักกี่คน แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว ......
ฉะนั้นวันนี้ผมขอดีใจกับน้องๆที่สอบติด และเป็นกำลังใจให้กลับน้องๆที่อาจจะยังไม่พบกับมหาวิทยาลัยดังที่หวังก็ตาม
ผมได้ไปค้นข้อมุลจากเอแบคโพลที่ได้ทำการสำรวจอาชีพในฝันของน้องๆหนูๆในกรุงเทพ เมื่อวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า อาชีพที่เด็กๆอยากเป็นอันดับแรก คือ ... นักบิน-แอร์โฮสเตส รองลงมาอยากเป็นดารา นักร้อง นักแสดง แพทย์ นักธุรกิจ ตำรวจ พยาบาล อาจารย์ ทหาร วิศวกร อาชีพเหล่านี้ดึงดูดความสนใจของเด็กๆลดหลั่นกันมาตามลำดับ ผมยังจำได้สมัยผมการสอบติดคณะแพทย์ นี่ถือว่าเป็นชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลเลย เดินไปซื้อข้าวหน้าปากซอยก็ยังเห็นมีรัศมีแห่งความสำเร็จเจิดจ้าอยู่รอบตัว กลับกันถ้าจะพูดถึงยุคสมัยนี้ที่พื้นที่การประกวดแข่งขันหาผู้มีความสามารถอันโดดเด่นนั้น มีอยู่ให้เห็นกันทุกวันตามหน้าจอทีวี และผมมองว่าวันนี้สื่อมีอิทธิพลกับการตัดสินใจเลือกอาชีพของเยาวชนของเราค่อนข้างสูง ถ้าผมเป็นเด็กสมัยนี้แล้วผมต้องการอยากรวยเร็ว มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตเร็ว ประกอบกับมีอาชีพทางเลือกที่ทำเงินได้มากๆ เหนื่อยน้อยๆ (ไม่ต้องใช้แรงกายหรือพลังสมองมากจนเครียด) ผมคงเลือกที่จะเป็นนักบิน ดารา นักร้อง นักแสดงเหมือนกัน เพราะยุคสมัยนี้หน้าตาบ้านๆก็สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดูดีได้แค่มี ... เงิน ... ไปทำศั-ล-ย-กรรม
อยู่ๆก็มีอีกหนึ่งความคิดที่กำลังกระซิบอยู่ที่หัวผมว่า ประเทศไทยน่าจะมีอาชีพอะไรแปลกๆ ซึ่งถ้าอาชีพนี้ถูกบัญญัติอยู่ในหน้าพลเมืองจริงๆแล้ว อาชีพนี้จะช่วยพัฒนาประเทศชาติเราให้เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไหนๆได้ และเป็นอาชีพที่ประเทศไทยเท่านั้นที่มี Thailand Only !!
ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ล้ำหน้าในเรื่องการสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัย ลองนึกถึงเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่มีชื่อญี่ปุ่น ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันก็พอจะนับไม่ไหวแล้ว คนญี่ปุ่นอ่านหนังสือกันเฉลี่ยปีละมากกว่า 50 เล่ม เทียบกับคนไทยเพียงปีละ 2 เล่มก็ถือว่าหรูแล้ว คนญี่ปุ่นถูกปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่ยังเด็ก ผมลองสังเกตในสารคดีท่องเที่ยว หรือซี่รี่ย์ญี่ปุ่น เพราะยังไม่เคยมีโอกาสเดินทางไปสำรวจประเทศญี่ปุ่นจริงๆ ฉากบนรถไฟมักจะเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมากที่หยิบหนังสือประจำตัวของตัวเองมานั่งท่อง ยืนอ่านกันอย่างถ้วนหน้า นโยบายต่างๆจากภาครัฐส่งเสริมการอ่านของคนในประเทศอยู่เสมอๆ เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นจะนึกถึงก็คือ การอ่านหนังสือ ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนของทุกๆปีจะถูกจัดให้เป็นสัปดาห์แห่งการอ่านหนังสือของญี่ปุ่น
( : ข้อมูลอ้างอิงจาก Jeducation : )
กลับมาที่ประเทศไทยของเรา หากอาชีพ "นักอ่าน" ถูกบัญญัติขึ้นให้สำหรับน้องๆทั้งหลายที่กำลังรอผลสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันวันนี้ น้องๆจะสนใจจะมาเริ่มต้นกับอาชีพนักอ่านไหม ผมอยากให้ทุกคนลองนึกภาพตอนที่คุณกำลังเดินเข้าไปบริษัทแห่งหนึ่งที่ตั้งโต๊ะสักเรียงราย พร้อมโซฟา เก้าอี้นวม แอร์เย็นฉ่ำ มีตู้หนังสือเป็นพัน กาแฟเย็น ชาเขียว ชาไข่มุกเย็น เสริฟพร้อมกับเค้กชอกโกแลต ใครสามารถอ่านหนังสือได้จำนวนมากก็เงินเดือนมาก ใครอ่านน้อยไม่ถึงเกณฑ์ก็ได้เงินเดือนลดหลั่นกันไป บริษัทที่ดำเนินธุรกิจนี้ถูกวัดผลประกอบการของบริษัทในภาพรวมของประเทศมีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP : Gross Domestic Product) และความสุขมวลรวม (GNH : Gross National Happiness) ที่สูงขึ้น บริษัทจะได้รับเป็นเงินปันผลที่สูงถ้าประเทศสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ภาพรวมของ GDP และ GNH ถูกทำให้สูงขึ้นเมื่อเด็กๆพวกนี้ได้นำความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือจำนวนมากไปใช้ในการอบรมบุคลากรตามบริษัทต่างๆ ให้มีความชำนาญยิ่งขึ้น รวมทั้งเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตให้มีความสุขมากขึ้น
อีกทั้งเด็กๆจะได้ไม่ต้องเครียดแข่งขันขยันกันกวดวิชา ท่องตำราหนังสือมากมายที่บางครั้งหลักสูตรก็อาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายสิบปี แถมยังลดปัญหาเรื่องเครียดจากการสอบไม่ติดอีกด้วย
ปัจจุบันมีหนังสือจำนวนมากมายที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยคนไทย นักเขียนของไทยหลายคนบรรยายออกมาด้วยภาษาที่สละสลวยมาก หรือบางคนอินเตอร์หน่อยอาจจะเลือกอ่านหนังสือต่างประเทศ ภาษาไม่ถึงขั้นเทพก็อ่านหนังสือแปล ซึ่งปัจจุบันการแปลของสำนักพิมพ์หลายที่ แปลออกมาได้ชัดเจนกว่าต้นฉบับเสียอีก ประเภทหนังสือก็มีมากมายให้เลือกอ่านเช่น หนังสือแนวพัฒนาตนเอง หนังสือเกียวกับการลงทุน หนังสือบริหารธุรกิจ หนังสือธรรมะ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ
หรือแม้กระทั่งข่าวสารบนกำแพงที่แสดงอยู่บนหน้า Facebook ของพวกเราทั้งหลาย
การค้นหาข้อมูลในปัจจุบันนั้นง่ายกว่าแต่ก่อนมาก แค่ใส่คำที่ต้องการค้นหาแล้วคลิ๊ก ความรู้นับพันก็จะมาปรากฏอยู่บนหน้าจอของเรา การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเชื่อมต่อถึงกันหมด ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก หากวันนี้คุณยังไม่ได้เห็นว่าประเทศเราจะบัญญัติอาชีพนักอ่านลงไปในหน้าที่ของพลเมืองได้ก็ตาม และนักอ่านอาจจะถูกมองเป็นงานอดิเรกของใครหลายๆคน แต่ผมก็เชื่อว่าถ้าคนไทยเอาจริงเอาจัง และทุ่มเทกับการอ่านหนังสือกันจริงๆแล้วละก็ ประเทศไทยก็จะเดินไปได้อีกไกลมาก ไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแน่นอน
หากหน่วยงานต่างๆจะเกาให้ถูกที่คันกับค่านิยมรักการอ่านหนังสือ ซึ่งควรจะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กๆไปจนถึงผู้ใหญ่ สื่อน่าจะเป็นแรงผลักดันค่านิยมของคนทุกวัยได้เป็นอย่างดี หากทำได้จริง สปอร์ตโฆษณาที่อยู่ในสื่อในวันนี้อาจจะถูกเปลี่ยนจาก "วันนี้ .. คุณดื่มนมแล้วหรือยัง"
เปลี่ยนเป็น "วันนี้ ... คุณอ่านหนังสือซักเล่มแล้วหรือยัง ? "
ผมกลับมาลองนึกถึงภาพเก่าๆ สมัยผมยังเรียกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบนี้ว่าเอนทรานซ์อยู่ สมัยนี้เปลี่ยนไปเรียกว่าแอดมิชชั่นซะแล้ว พ่อแม่ยุคใหม่นี้อาจจะต้องศึกษาระบบการศึกษาให้ใหม่สดอยู่เสมอ
สมัยนั้นผมยังจำได้ถึงวันประกาศผลเอนทรานซ์ที่เวบไซด์ประกาศผลมักจะล่มอยู่เป็นประจำ บางคนกระโดดโลดเต้นดีใจที่สอบติดคณะที่ใช่สาขาที่โดน ป่าวประกาศให้คนทั้งโลกได้รู้ถึงความสำเร็จ แม้ในขณะนั้นยังไม่มีระบบเครือข่ายอย่าง Facebook ถ้าก็ดีที่มี Hi 5 ที่เป็นตัวชูโรงให้โอ้อวดถึงความสำเร็จนี้กัน ความสำเร็จแรกของชีวิตนักเรียนมันช่างเหมือนประกายไฟส่องทางไปสู่เป้าหมายในวันข้างหน้า สมัยผมผมก็เชื่ออย่างนั้น กว่าที่เราจะฝ่าฟันการติวเข้มจากวีดีโอที่มีครูผู้สอนเป็นทีวี แต่ละวันนั่งหมกตัวอยู่ในห้องเล็กๆติดแอร์ พร้อมกับขนมขบเขี้ยวที่พกติดตัว อย่าง ลูกอมเมนทอส จอลลี่แบร์ จอลลี่โคล่า เป็นตัวช่วยประทังความง่วงได้ดีทีเดียว แต่วันนี้พอผมลองมองย้อนกลับไป การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในครั้งนั้น มันแค่เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ชีวิตให้อยู่รอดในสังคมเท่านั้นเอง เพราะความไม่รู้ว่า คณะที่เราเลือกมันจะใช่กับสิ่งที่เราชอบไหม เพื่อนฝูงจะคบหาสมาคมกันไปได้ตลอดรอดฝั่งรึปล่าว หรือแม้กระทั่งหากเราจบไปแล้วคณะที่เราเรียนจะมีคนตกงานอีกกันซักกี่คน แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว ......
ฉะนั้นวันนี้ผมขอดีใจกับน้องๆที่สอบติด และเป็นกำลังใจให้กลับน้องๆที่อาจจะยังไม่พบกับมหาวิทยาลัยดังที่หวังก็ตาม
ผมได้ไปค้นข้อมุลจากเอแบคโพลที่ได้ทำการสำรวจอาชีพในฝันของน้องๆหนูๆในกรุงเทพ เมื่อวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า อาชีพที่เด็กๆอยากเป็นอันดับแรก คือ ... นักบิน-แอร์โฮสเตส รองลงมาอยากเป็นดารา นักร้อง นักแสดง แพทย์ นักธุรกิจ ตำรวจ พยาบาล อาจารย์ ทหาร วิศวกร อาชีพเหล่านี้ดึงดูดความสนใจของเด็กๆลดหลั่นกันมาตามลำดับ ผมยังจำได้สมัยผมการสอบติดคณะแพทย์ นี่ถือว่าเป็นชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลเลย เดินไปซื้อข้าวหน้าปากซอยก็ยังเห็นมีรัศมีแห่งความสำเร็จเจิดจ้าอยู่รอบตัว กลับกันถ้าจะพูดถึงยุคสมัยนี้ที่พื้นที่การประกวดแข่งขันหาผู้มีความสามารถอันโดดเด่นนั้น มีอยู่ให้เห็นกันทุกวันตามหน้าจอทีวี และผมมองว่าวันนี้สื่อมีอิทธิพลกับการตัดสินใจเลือกอาชีพของเยาวชนของเราค่อนข้างสูง ถ้าผมเป็นเด็กสมัยนี้แล้วผมต้องการอยากรวยเร็ว มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตเร็ว ประกอบกับมีอาชีพทางเลือกที่ทำเงินได้มากๆ เหนื่อยน้อยๆ (ไม่ต้องใช้แรงกายหรือพลังสมองมากจนเครียด) ผมคงเลือกที่จะเป็นนักบิน ดารา นักร้อง นักแสดงเหมือนกัน เพราะยุคสมัยนี้หน้าตาบ้านๆก็สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดูดีได้แค่มี ... เงิน ... ไปทำศั-ล-ย-กรรม
อยู่ๆก็มีอีกหนึ่งความคิดที่กำลังกระซิบอยู่ที่หัวผมว่า ประเทศไทยน่าจะมีอาชีพอะไรแปลกๆ ซึ่งถ้าอาชีพนี้ถูกบัญญัติอยู่ในหน้าพลเมืองจริงๆแล้ว อาชีพนี้จะช่วยพัฒนาประเทศชาติเราให้เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไหนๆได้ และเป็นอาชีพที่ประเทศไทยเท่านั้นที่มี Thailand Only !!
ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ล้ำหน้าในเรื่องการสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัย ลองนึกถึงเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่มีชื่อญี่ปุ่น ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันก็พอจะนับไม่ไหวแล้ว คนญี่ปุ่นอ่านหนังสือกันเฉลี่ยปีละมากกว่า 50 เล่ม เทียบกับคนไทยเพียงปีละ 2 เล่มก็ถือว่าหรูแล้ว คนญี่ปุ่นถูกปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่ยังเด็ก ผมลองสังเกตในสารคดีท่องเที่ยว หรือซี่รี่ย์ญี่ปุ่น เพราะยังไม่เคยมีโอกาสเดินทางไปสำรวจประเทศญี่ปุ่นจริงๆ ฉากบนรถไฟมักจะเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมากที่หยิบหนังสือประจำตัวของตัวเองมานั่งท่อง ยืนอ่านกันอย่างถ้วนหน้า นโยบายต่างๆจากภาครัฐส่งเสริมการอ่านของคนในประเทศอยู่เสมอๆ เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นจะนึกถึงก็คือ การอ่านหนังสือ ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนของทุกๆปีจะถูกจัดให้เป็นสัปดาห์แห่งการอ่านหนังสือของญี่ปุ่น
( : ข้อมูลอ้างอิงจาก Jeducation : )
อีกทั้งเด็กๆจะได้ไม่ต้องเครียดแข่งขันขยันกันกวดวิชา ท่องตำราหนังสือมากมายที่บางครั้งหลักสูตรก็อาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายสิบปี แถมยังลดปัญหาเรื่องเครียดจากการสอบไม่ติดอีกด้วย
ปัจจุบันมีหนังสือจำนวนมากมายที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยคนไทย นักเขียนของไทยหลายคนบรรยายออกมาด้วยภาษาที่สละสลวยมาก หรือบางคนอินเตอร์หน่อยอาจจะเลือกอ่านหนังสือต่างประเทศ ภาษาไม่ถึงขั้นเทพก็อ่านหนังสือแปล ซึ่งปัจจุบันการแปลของสำนักพิมพ์หลายที่ แปลออกมาได้ชัดเจนกว่าต้นฉบับเสียอีก ประเภทหนังสือก็มีมากมายให้เลือกอ่านเช่น หนังสือแนวพัฒนาตนเอง หนังสือเกียวกับการลงทุน หนังสือบริหารธุรกิจ หนังสือธรรมะ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ
หรือแม้กระทั่งข่าวสารบนกำแพงที่แสดงอยู่บนหน้า Facebook ของพวกเราทั้งหลาย
การค้นหาข้อมูลในปัจจุบันนั้นง่ายกว่าแต่ก่อนมาก แค่ใส่คำที่ต้องการค้นหาแล้วคลิ๊ก ความรู้นับพันก็จะมาปรากฏอยู่บนหน้าจอของเรา การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันเชื่อมต่อถึงกันหมด ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก หากวันนี้คุณยังไม่ได้เห็นว่าประเทศเราจะบัญญัติอาชีพนักอ่านลงไปในหน้าที่ของพลเมืองได้ก็ตาม และนักอ่านอาจจะถูกมองเป็นงานอดิเรกของใครหลายๆคน แต่ผมก็เชื่อว่าถ้าคนไทยเอาจริงเอาจัง และทุ่มเทกับการอ่านหนังสือกันจริงๆแล้วละก็ ประเทศไทยก็จะเดินไปได้อีกไกลมาก ไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแน่นอน
หากหน่วยงานต่างๆจะเกาให้ถูกที่คันกับค่านิยมรักการอ่านหนังสือ ซึ่งควรจะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กๆไปจนถึงผู้ใหญ่ สื่อน่าจะเป็นแรงผลักดันค่านิยมของคนทุกวัยได้เป็นอย่างดี หากทำได้จริง สปอร์ตโฆษณาที่อยู่ในสื่อในวันนี้อาจจะถูกเปลี่ยนจาก "วันนี้ .. คุณดื่มนมแล้วหรือยัง"
เปลี่ยนเป็น "วันนี้ ... คุณอ่านหนังสือซักเล่มแล้วหรือยัง ? "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น